วันที่ 22 มิถุนายน 2558 พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มีการเพิ่มเติมในส่วนของสิทธิประโยชน์ทดแทนที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้น โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 ดังนี้
- กรณีผู้ประกันตนจงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือตาย โดยไม่ใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
ไม่ได้รับความคุ้มครอง กรณีผู้ประกันตนจงใจทำให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือตาย
| มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหากผู้ประกันตนจงใจทำให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ ตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น |
- กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
มีสิทธิได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย | ได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์
|
ผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2558ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 15 ปี
| ได้รับเงินทดแทนการขายรายได้ตลอดชีวิต
|
ผู้ทุพพลภาพหลังจากวันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
ต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ถึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
| ไม่ต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ก็มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
|
- กรณีเป็นผู้เจ็บป่วยเรื้อรังและทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
| ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีตาย แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิ
|
แยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีส่งเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือน แต่ไม่ถึง 120 เดือน และกรณีที่ส่งเงินสมทบมาแล้ว 120 เดือนขึ้นไป
กรณีที่ 1 ส่งเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือน (3 ปี) แต่ไม่ถึง 120 เดือน (10 ปี)ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
หากผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้าง 1.5 เดือน
| หากผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับ 50% ของค่าจ้างรายเดือน คูณด้วย 4 (เท่ากับค่าจ้างประมาณ 2 เดือน)
|
กรณีที่ 2 ส่งเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 120 เดือน (10 ปี)
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
หากผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 5 เดือน
| หากผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับ 50% ของค่าจ้าง คูณด้วย 12 (เท่ากับค่าจ้างประมาณ 6 เดือน)
|
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
- มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ไม่เกิน 2 ครั้ง เหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาท
- ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน
| - มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ครั้งละ 13,000 บาท
- เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิง
|
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
มีสิทธิเบิกค่าสงเคราะห์บุตรอายุ 0-6 ปี ได้คราวละไม่เกิน 2 คน เหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาทต่อคน
| มีสิทธิเบิกค่าสงเคราะห์บุตรอายุ 0-6 ปี ได้คราวละไม่เกิน 3 คน เหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาทต่อคน
|
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
- ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออก
| - ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อว่างงาน กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง เช่น กรณีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม
|
- กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จชราภาพ)
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
- จ่ายให้ทายาทตามกฎหมายเท่านั้น คือ บิดา มารดา บุตร และคู่สมรส
- บุคคลที่ไม่ใช่ทายาทตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
- ผู้ประกันตนไม่อาจทำหนังสือระบุให้บุคคลอื่นรับเงินบำเหน็จชราภาพได้
- หากผู้ประกันตนไม่มีทายาท เงินบำเหน็จชราภาพจะตกเป็นของกองทุน
| - ผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือระบุให้บุคคลอื่นรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยมีสิทธิได้รับร่วมกับทายาท
- หากผู้ประกันตนไม่มีทายาท หรือไม่มีบุคคลที่ทำหนังสือระบุ จะให้สิทธิแก่พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
|
- กรณีลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
คุ้มครองเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน
| ขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ
|
- กรณีลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
ไม่คุ้มครองลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ
| ขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ
|
- ระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน
ประโยชน์ทดแทนเดิม
| สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่
|
ต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี
| ต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 2 ปี
|