ค่าทดแทน 4 กรณี : 1. ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานได้

21 กุมภาพันธ์ 2568

   https://wcfp.sso.go.th/


ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานได้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

1. จ่ายร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน

2. ลูกจ้างมีการหยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 1 วัน รวมกันไม่เกิน 1 ปี

3. มีใบรับรองแพทย์ระบุหยุดพักรักษาตัว

4. ลูกจ้างหยุดพักรักษาตัวจริงตามใบรับรองแพทย์

5. ค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดในปัจจุบัน      =   20,000 x 70   =   14,000 บาท

ตัวอย่างการจ่ายค่าทดแทน

ตัวอย่างที่ 1      ลูกจ้างได้รับเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว

เป็นระยะเวลา 2 เดือน ลูกจ้างหยุดงาน 2 เดือน

การคำนวณ

20,000 x 70%

=  14,000  บาท

ลูกจ้างหยุดงาน  2  เดือน

=  14,000 x 2

ลูกจ้างได้รับค่าทดแทนกรณีหยุดพักรักษาตัว 2 เดือน

=  28,000 บาท

 

ตัวอย่างที่ 2      ลูกจ้างได้รับเงินเดือน เดือนละ 10,000 บาท ใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว เป็นระยะเวลา 10 วัน ลูกจ้างหยุดงาน 10 วัน

การคำนวณ

10,000 x 70%

=  7,000  บาท

ลูกจ้างหยุดงาน  10  วัน

7,000 x 10

         30

ลูกจ้างได้รับค่าทดแทนกรณีหยุดพักรักษาตัว  10 วัน

=  2,333.30 บาท

  

ตัวอย่างที่ 3      ลูกจ้างได้รับค่าจ้างวันละ 325 บาท ใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวเป็นระยะเวลา 15 วัน ลูกจ้างหยุดงาน 12 วัน

การคำนวณ

(325 x 26) x 70%

=  5,915  บาท

ลูกจ้างหยุดงาน  12  วัน

5,915 x 12

         30

ลูกจ้างได้รับค่าทดแทนกรณีหยุดพักรักษาตัว   12 วัน

=  2,366 บาท

 

ตัวอย่างที่ 4      ลูกจ้างได้รับค่าจ้างวันละ 325 บาท ใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวเป็นระยะเวลา 3 วัน ลูกจ้างหยุดงาน 1 วัน

การคำนวณ

(325 x 26) x 70%

=  5,915  บาท

ลูกจ้างหยุดงาน  1  วัน

5,915 x 1

         30

ลูกจ้างได้รับค่าทดแทนกรณีหยุดพักรักษาตัว 1 วัน

=  197.15 บาท

  

 

กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานฯ

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน