ขั้นตอนการเบิกสิทธิประโยชน์ทดแทนมาตรา 40
ขั้นตอนการเบิกสิทธิประโยชน์ทดแทน
1. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40) พร้อมหลักฐานประกอบการยื่นคำขอฯ ได้ที่สำนักงานประกันสังคม ทั่วประเทศ
2. ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Self Service) พร้อมหลักฐานประกอบการยื่นคำขอฯ ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th โดยสมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน เลือก บริการด้วยตนเองผ่านระบบ e-Self Service
3. ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 2 ปีนับแต่วันที่มีสิทธิ
4. เมื่อผู้ประกันตนได้รับแจ้งจากสำนักงานประกันสังคมให้รับเงินประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนจะต้องรับเงินภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากไม่รับภายในกำหนด ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน
หลักฐานประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
1) ใบรับรองแพทย์
2) สำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี)
กรณีทุพพลภาพ
1) ใบรับรองแพทย์
2) สำเนาเวชระเบียน
กรณีตาย
เงินค่าทำศพ
1) หนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการงานศพ (กรณีมีหนังสือระบุเป็นผู้จัดการงานศพ)
2) หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
3) สำเนามรณบัตร (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่)
4) บัตรประจำตัวประชาชนผู้จัดการศพ
เงินสงเคราะห์กรณีตาย
1) หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ฯ (กรณีมีหนังสือระบุสิทธิ)
2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ฯ
3) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่)
4) สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือทะเบียนบ้านของบุตร (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่)
หมายเหตุ : เงินสงเคราะห์กรณีตายจ่ายให้กับบุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ หากไม่มี ให้เฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน (บุตร ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย)
กรณีบำเหน็จชราภาพ
กรณีผู้ประกันตนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน (ลาออก)
1) แบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)
2) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน
กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
1) สำเนามรณบัตร (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่)
2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
3) ทะเบียนบ้านของผู้ตาย และผู้มีสิทธิ
4) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่)
5) สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือทะเบียนบ้านของบุตร (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่)
6) หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (กรณีผู้ประกันตนมีหนังสือระบุสิทธิ)
หมายเหตุ : กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ให้พิจารณาจ่ายให้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา บุตร หรือบุคคล ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพในจำนวนที่เท่ากัน กรณี ไม่มีผู้สิทธิดังกล่าว ให้ทายาทดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามลำดับ หากบุคคลลำดับใด มีมากกว่าหนึ่งคนให้บุคคลลำดับนั้นได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน
(1) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (หากไม่มีลำดับนี้ ให้พิจารณาลำดับถัดไป)
(2) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา (หากไม่มีลำดับนี้ ให้พิจารณาลำดับถัดไป)
(3) ปู่ ย่า ตา ยาย (หากไม่มีลำดับนี้ ให้พิจารณาลำดับถัดไป)
(4) ลุง ป้า น้า อา
กรณีสงเคราะห์บุตร
กรณีผู้ประกันตนหญิง
1) สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
2) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ
กรณีผู้ประกันตนชาย
1) สำเนาทะเบียนสมรส หรือ สำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้าย หรือ สำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือ สำเนาคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาล หรือ คำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
2) สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
3) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ
ขั้นตอนการขอรับเงินสมทบคืน ผู้ประกันตนมาตรา 40
1) ให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินคืนกรณีต่างๆ พร้อมหลักฐานประกอบการยื่นฯ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
2) การยื่นคำขอรับเงินไม่พึงชำระคืนและเงินสมทบล่วงหน้าคืน (กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เสียชีวิต) ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ทราบว่ามีสิทธิรับเงินคืนหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
กรณีขอรับเงินไม่พึงชำระคืน
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบและเงินสมทบล่วงหน้า ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิสามารถยื่นแบบคำขอรับเงิน ไม่พึงชำระคืนตามแบบ สปส.1-40/5 กรณีดังนี้
1) ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางเลือกการจ่ายเงินสมทบ
2) ผู้ประกันตนมาตรา 40 กลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39
3) ผู้ประกันตนแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน (ลาออก)
4) เกษียณอายุ 60 ปีขึ้นไป
5) ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (มีชีวิต)
6) ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (เสียชีวิต)
กรณีขอรับเงินสมทบล่วงหน้าคืน
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบล่วงหน้าต่อมาเสียชีวิต ให้ผู้มีสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบล่วงหน้าคืน ตามแบบ สปส.1-40/3
กรณีขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน (ลดอัตราเงินสมทบ)
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบล่วงหน้า ต่อมาสำนักงานประกันสังคมมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตน โดยการลดอัตราการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิสามารถ
ยื่นแบบคำขอรับเงินที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืนตามแบบ สปส.1-40/7
กรณีขอรับเงินสมทบและเงินสมทบล่วงหน้า สิ้นสุดตามกฎหมาย กรณียกเลิกบำนาญชราภาพ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบและเงินสมทบล่วงหน้า ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิสามารถยื่นแบบคำขอ กรณียกเลิกบำนาญชราภาพ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2558 ตามแบบ สปส.1-40/6
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบคืน มีดังนี้
ผู้ประกันตนมีชีวิต
1) บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง
2) หนังสืออื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ (ระบุ)..................
3) สำเนาบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน
ผู้ประกันตนเสียชีวิต
- กรณีขอรับเงินไม่พึงชำระคืน
- กรณีขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน (ลดอัตราเงินสมทบ)
- กรณีขอรับเงินสมทบและเงินสมทบล่วงหน้าคืน สิ้นสุดตามกฎหมาย กรณียกเลิกบำนาญชราภาพ
1) สำเนาใบมรณบัตร
2) สำเนาคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก
3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ
4) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ
5) สำเนาสูติบัตรของบุตรผู้ประกันตน
6) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน
7) สำเนาใบมรณบัตรของคู่สมรส บิดาและมารดาของผู้ประกันตน
8) สำเนาหนังสือจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมของผู้ประกันตน
9) สำเนาบัญชีธนาคารของผู้มีสิทธิ
10) หนังสืออื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ (ระบุ)...................
ผู้ประกันตนเสียชีวิต กรณีขอรับเงินสมทบล่วงหน้า
1. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554 กำหนดให้จ่ายคืนแก่ผู้มีสิทธิได้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา บุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน
1) สำเนาใบมรณบัตร
2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ
3) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ
4) สำเนาสูติบัตรของบุตรผู้ประกันตน
5) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน
6) สำเนาทะเบียนหย่าของคู่สมรส บิดา และมารดาของผู้ประกันตน
7) สำเนาใบมรณบัตรของคู่สมรส บิดาและมารดาของผู้ประกันตน
8) สำเนาหนังสือจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมของผู้ประกันตน
9) สำเนาบัญชีธนาคารของผู้มีสิทธิ
10) หนังสืออื่นๆที่ทางราชการออกให้ (ระบุ)........................
2. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2561 กำหนดให้จ่ายคืนแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิ แต่ถ้ามิได้ทำหนังสือ ระบุให้นำมาเฉลี่ยให้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา หรือบุตร ของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน กรณีไม่มีผู้มีสิทธิรับเงิน ให้ทายาทของผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับ หากบุคคลลำดับใดมีจำนวนมากกว่าหนึ่ง ให้บุคคลลำดับนั้นได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
(1) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(2) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา
(3) ปู่ ย่า ตา ยาย
(4) ลุง ป้า น้า อา
- กรณีผู้ประกันตนทำหนังสือระบุผู้มีสิทธิ ให้ผู้มีชื่อในหนังสือระบุสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบล่วงหน้าคืน พร้อมหนังสือระบุผู้มีสิทธิและเอกสารของผู้มีสิทธิดังกล่าวตามข้อ 1 (1) – (3)
-กรณีผู้ประกันตนมิได้ทำหนังสือระบุผู้มีสิทธิ ให้ผู้มีสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบล่วงหน้าคืน พร้อมเอกสาร ของผู้มีสิทธิดังกล่าวตามข้อ 1 (1) – (10)