ขั้นตอนการเบิกสิทธิประโยชน์ทดแทน
1. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40) พร้อมหลักฐานประกอบการยื่นคำขอฯ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
2. ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 2 ปีนับแต่วันที่มีสิทธิ
3. เมื่อผู้ประกันตนได้รับแจ้งจากสำนักงานประกันสังคมให้รับเงินประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนจะต้องรับเงินภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากไม่รับภายในกำหนด ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน
หลักฐานประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
1) ใบรับรองแพทย์
2) สำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี)
3) บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้
กรณีทุพพลภาพ
1) ใบรับรองแพทย์
2) สำเนาเวชระเบียน
กรณีตาย
เงินค่าทำศพ
1) หนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการงานศพ(กรณีมีหนังสือระบุเป็นผู้จัดการงานศพ)
2) หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการงานศพ
3) ใบมรณบัตร (แสดงต่อเจ้าหน้าที่)
4) บัตรประจำตัวประชาชนผู้จัดการศพ
เงินสงเคราะห์กรณีตาย
1) หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ฯ (กรณีมีหนังสือระบุสิทธิ)
2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิเงินสงเคราะห์ฯ
3) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (กรณีจดทะเบียนสมรส)
4) สูติบัตรของบุตร หรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน)
หมายเหตุ : เงินสงเคราะห์กรณีตาย จ่ายให้กับบุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ หากไม่มี ให้เฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน (ซึ่งสามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตร ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย)
กรณีเงินบำเหน็จชราภาพ
กรณีผู้ประกันตนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน (ลาออก)
1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้
กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
1) ใบมรณบัตร (แสดงต่อเจ้าหน้าที่)
2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
3) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (กรณีจดทะเบียนสมรส)
4) สูติบัตรของบุตร หรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน)
5) หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (กรณีผู้ประกันตนมีหนังสือระบุสิทธิ)
หมายเหตุ : กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ให้พิจารณาจ่ายให้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา บุตร หรือบุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ โดยแบ่งจำนวนที่เท่ากัน กรณีไม่มีผู้สิทธิดังกล่าว ให้ทายาทดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามลำดับ หากบุคคลลำดับใดมีมากกว่าหนึ่งคนให้บุคคลลำดับนั้นได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน
กรณีสงเคราะห์บุตร
กรณีผู้ประกันตนหญิง
1) สูติบัตรต้นฉบับของบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
2) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ
กรณีผู้ประกันตนชาย
1) สำเนาทะเบียนสมรส หรือ สำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้าย หรือ สำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือ สำเนาคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาล หรือ คำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
2) สูติบัตรต้นฉบับของบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
3) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ
ขั้นตอนการขอรับเงินคืน
1. ให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินคืนกรณีต่างๆ พร้อมหลักฐานประกอบการยื่นฯ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
2. ยื่นคำขอรับเงินไม่พึงชำระคืนและเงินสมทบล่วงหน้าคืน (กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เสียชีวิต) ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ทราบว่ามีสิทธิรับเงินคืน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
กรณีขอรับเงินไม่พึงชำระคืน ให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินไม่พึงชำระคืนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/5) กรณีดังนี้
1) ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้ประกันตน
2) ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
3) ผู้ประกันตนแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน (ลาออก)
4) เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางเลือก
5) ผู้ประกันตนเสียชีวิต
กรณีขอรับเงินสมทบล่วงหน้าคืน ให้ผู้มีสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบล่วงหน้าคืน กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เสียชีวิต (สปส.1-40/3)
กรณีขอรับเงินสมทบ และเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายล่วงหน้า กรณียกเลิกบำนาญชราภาพ
ให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบ และเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายล่วงหน้า กรณียกเลิกบำนาญชราภาพ (สปส-1-40/6)
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอ มีดังนี้
กรณีผู้ประกันตนมีชีวิต
1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้
กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ของผู้มีสิทธิ
2) ทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ
3) ใบมรณบัตรของผู้ประกันตน
4) ใบมรณะของคู่สมรส บิดามารดา บุตร (ถ้ามี)
5) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน
6) สำเนาทะเบียนสมรสของบิดามารดาของผู้ประกันตน
7) สำเนาทะเบียนหย่าของคู่สมรส และบิดามารดาของผู้ประกันตน (ถ้ามี)
8) สูติบัตรของบุตรผู้ประกันตน
9) หนังสือจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมของผู้ประกันตน (ถ้ามี)
10) เอกสารอื่นๆ ตามความจำเป็น